ที่มาของคาถานกยูงทอง
 

 
       บรรดาพระป่าสาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ภูริทตฺโต) ส่วนมากให้ความสำคัญในการบริกรรมพระคาถาบทหนึ่ง คือ พระคาถาโมรปริตรหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระคาถาพญายูงทอง" สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของคาถานี้นั้น สมาชิกหลายท่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วคาถา "นะโมวิมมุตตานัง นะโมวิมุตติยา" เป็นคาถาที่ปรากฏในตำนานโมรปริตร (อุเทตะยัญจักขุมา) ซึ่งเป็นนิทานชาดก โดยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น "พญานกยูงทอง" 

       โดยคาถานี้เป็นคาถาที่ปรากฏอยู่บนหลังเหรียญเกือบทุกรุ่นของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร โดยหัวใจของคาถาบทนี้คือ"นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา" อันมีความหมายว่า "ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแต่ผู้วิมุตแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแต่วิมุตตฺธรรม"

       นอกจากจะพบคาถานี้บนหลังเหรียญแทบทุกรุ่นของท่านพระอาจารย์ฝั้นแล้ว ยังพบคาถาบทนี้ในตะกรุดอีกด้วย ทั้งนี้ได้มีเหล่าบรรดาลูกศิษย์จำนวนมากไปหาอาจารย์ฝั้น ให้ทำตะกรุดให้ โดยจัดหาแผ่นโละทองเหลือง-ทองแดง-ตะกั่วไปพร้อม ท่านก็มีเมตตาจารให้ทุกคน โดยท่านจะจารพระคาถาเป็นภาษาขอม ลาว อ่านว่า นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา โดยส่วนใหญ่บางครั้งอาจมีหัวใจคาถาอื่นเพิ่มเติมบ้าง เช่น นะโมพุทธายะ และ นะมะพะทะ ผนวกเข้าไว้ก็ได้ ตะกรุดของพระอาจารย์ฝั้นบางคนก็เอาไปปิดเสาเรือน บางคนก็พกพาไว้ติดตัว โดยมีความเชื่อว่า สามารถกันไฟ กันฟ้าผ่า รวมทั้งแคล้วคลาด
  



       นอกจากนี้แล้วยังพบว่า หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ยังใช้คาถาบทนี้ด้วย ดังปรากฏในหนังสือสวดมนต์ของวัด
ทั้งนี้สันนิษฐานว่าคงสืบเนื่องมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
“คาถาโมรปริตร คาถาพญายูงทอง”
ในบรรดาพระสายป่าสาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ภูริทตฺโต) ส่วนมากให้ความสำคัญในการปริกรรมพระคาถาบทหนึ่ง คือ พระคาถาโมรปริตร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระคาถาพญายูงทอง" ซึ่งมีการบริกรรมดังนี้ 

พระคาถานกยูงทอง โมระปริตร (พระคาถาแคล้วคลาด)
โมระปริตร ว่าด้วยพระคาถาของนกยูงทอง (พระคาถาแคล้วคลาด)

๑. อุเทตะยัญจักขุมา เอกราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

๒. เย พรัห์มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง มะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา

๓ . อะเปตะยัญจักขุมา เอกราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง

๔ . เย พรัห์มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง มะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ

คำแปล โมระปริตร ว่าด้วยพระคาถาของนกยูงทอง (พระคาถาแคล้วคลาด)

๑. พระอาทิตย์ เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราชา มีสีดั่งสีทอง
ยังพื้นปฐพีให้สว่างอุทัยขึ้นมา เพราะเหตุนั้น
ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้นซึ่งมีสีดั่งสีทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง
ข้าพเจ้าทั้งหลายอันท่านปกครองแล้วในวันนี้
พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน

๒. พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงเวทในธรรมทั้งปวง
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าฯ
อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาข้าพเจ้า
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จงมีแด่พระโพธิญาณ
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ผู้พ้นแล้วทั้งหลาย
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม
นกยูงนั้นได้กระทำพระปริตรบทนี้แล้ว จึงเที่ยวไปเพื่อแสวงหาอาหาร

๓ . พระอาทิตย์ เป็นดวงตาของโลก ป็นเอกราชา มีสีดั่งสีทอง
ยังพื้นปฐพีให้สว่าง ย่อมอัสดงคตไป เพราะเหตุนั้น
ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้นซึ่งมีสีดั่งสีทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง
ข้าพเจ้าทั้งหลายอันท่านปกครองแล้วในวันนี้
พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน

๔ . พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงเวทในธรรมทั้งปวง
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า
อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาข้าพเจ้า
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จงมีแด่พระโพธิญาณ
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ผู้พ้นแล้วทั้งหลาย
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม
เครดิตธรรมะทานโดยนายปรีชา เควิง

 

“เราสร้างบุญ บุญสร้างเรา”
088-501-5519, 088-009-9912
 Id Line @219onczp
กดลิงค์เพิ่มเพื่อน https://lin.ee/xIY9Prs

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้